ปฏิทินของฉัน

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

วิกฤติเศรษฐกิจโลก


       คมชัดลึก : กลิ่นฉุนของดินปืนจากปากกระบอกปืนของทหารที่เข้าสลายการชุมนุมของประชาชนที่ต้องการโค่นล้มอำนาจการปกครองของ พันเอก โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจมานาน 42 ปี ทำให้มีผู้สังเวยชีวิตไปกับเหตุการณ์ประท้วงที่กลายเป็นวิกฤติทางการเมืองในลิเบียอย่างน้อย 233 ราย วิกฤติการเมืองในลิเบียยังได้ลุกลามส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะนักลงทุนตระหนกกับวิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของทวีปแอฟริกาเหนือ และเป็นอันดับ 9 ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันประมาณ 1.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลักคิดเป็น 95% ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ
      เมื่อวันจันทร์ (21 ก.พ.) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ที่มีกำหนดส่งมอบในเดือนเมษายนดีดตัวขึ้น 1.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลปิดที่ระดับ 107.27 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาซื้อขายสูงสุดตั้งแต่ปี 2551 ส่วนราคาน้ำมันดิบไลท์ สวีท ในตลาดนิวยอร์กมีกำหนดส่งมอบในเดือนมีนาคมพุ่งสูงขึ้นทันที 7.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลปิดที่ระดับ 93.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในวันเดียวกันนั้นตลาดหุ้นเอเชียตอบรับวิกฤติการเมืองในลิเบียและตะวันออกกลางโดยดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน
ดัชนีตลาดหุ้นโตเกียว ปรับตัวลดลง 1.78% ปิดที่192.83 จุด ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้มีดัชนีตลาดหุ้น
ลดลง 0.88% ปิดที่ 4,856.7 จุด ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ลดลง 1.92% และ 2.18%
ตามลำดับ
      นักลงทุนมุ่งซื้อน้ำมันดิบล่วงหน้าเพราะไม่แน่ใจในสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับฐานการผลิตน้ำมันในลิเบีย และประเทศตะวันออกกลางว่าจะมีกำลังการผลิตน้ำมันได้ต่อไป ท่ามกลางภาวะวิกฤติทางการเมืองที่ปะทุขึ้นจากประเทศตูนีเซีย อียิปต์ ก่อนที่จะลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัจจัยด้านการปกครองในลักษณะเดียวกัน บริษัทโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจชั้นนำระดับโลก พยากรณ์ว่าราคาน้ำมันในตลาดลอนดอนจะขยับสูงขึ้นไปอีกหากวิกฤติการเมืองในลิเบียยังคงไร้เสถียรภาพ และเกิดวิกฤติการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย
      เหตุการณ์ประท้วงเดือดถึงขั้นนองเลือดในลิเบีย ทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติแห่งหนึ่ง ที่ผลิตน้ำมันวันละ 1 แสนบาร์เรล หรือราว 6 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศ ปิดดำเนินการ ส่วนบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ รวมทั้ง เชลล์ ได้อพยพนักงานออกจากลิเบีย หลังจาก พันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียพยายามยื้ออำนาจ
ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนด้านนายอรุณา มาเฮนดรัน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนในเอเชียแห่งธนาคารเอชเอสบีซี ไพรเวท ประเมินว่าโลกอาจเห็นราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือพุ่งสูงถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเพราะ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
ชะลอตัวลงอีกครั้ง
     ญี่ปุ่นประชุมฉุกเฉินรับมือวิกฤติน้ำมัน
นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้เรียกประชุมฉุกเฉินรัฐมนตรีคลัง ต่างประเทศ พาณิชย์
และกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือสถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่งทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี
ท่ามกลางเหตุรุนแรงขยายวงในตะวันออกกลาง ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางถึง 90% ซึ่งแสดงถึงความกังวลต่อวิกฤติการเมืองในลิเบียและตะวันออกกลางที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้อย่างชัดเจน


ที่มา : คมชัดลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น